โพสต์ลง 27 มีนาคม 2568 โดย คีนน์
คราบน้ำมัน ไขมันในการผลิต และการบำบัด
คราบน้ำมันและไขมันเป็นปัญหาที่พบได้ทั่วไปในอุตสาหกรรมอาหารและบริการ เช่น โรงงานแปรรูปอาหาร ร้านอาหาร และโรงแรม คราบเหล่านี้เกิดจากกระบวนการทำอาหารที่มีการใช้ไขมันและน้ำมันในปริมาณมาก ซึ่งหากไม่ได้รับการจัดการอย่างเหมาะสม อาจนำไปสู่ปัญหาการสะสมในระบบท่อระบายน้ำ สิ่งแวดล้อม และอุปกรณ์การผลิต
เรามาทำความรู้จักกระบวนการเกิดของคราบไขมันในเชิงวิทยาศาสตร์ วิธีการทำความสะอาด และผลกระทบจากการใช้สารเคมีในการกำจัด และต้องดูแลปัญหาเหล่านี้อย่างไรให้ได้ทั้งการแก้ปัญหาและด้านความยั่งยืนของธุรกิจไปพร้อมกัน
กระบวนการเกิดและการสะสมของคราบไขมันในทางวิทยาศาสตร์
องค์ประกอบของไขมันและน้ำมันในอุตสาหกรรมอาหาร
ไขมันและน้ำมัน (Fats and Oils) เป็นสารประกอบไตรกลีเซอไรด์ (Triglycerides) ที่ประกอบด้วยกรดไขมันและกลีเซอรอล โดยกรดไขมันสามารถแบ่งออกเป็นสองประเภทหลัก ได้แก่
- ไขมันอิ่มตัว (Saturated Fats) เช่น ไขมันสัตว์และน้ำมันปาล์ม ที่มีจุดหลอมเหลวสูงและจับตัวเป็นก้อนง่าย
- ไขมันไม่อิ่มตัว (Unsaturated Fats) เช่น น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันมะกอก ที่มีโครงสร้างโมเลกุลซับซ้อนกว่า และสามารถเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชันทำให้เกิดกลิ่นหืนได้
ประเภทของคราบไขมันจากการผลิตอาหารและบริการ
คราบไขมันที่เกิดจากการผลิตอาหารและบริการสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภทหลัก ตามความยากง่ายในการกำจัด:
- ไขมันจากพืช (Vegetable Oils) เช่น น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันมะพร้าว และน้ำมันรำข้าว ไขมันเหล่านี้มักอยู่ในรูปของเหลวและสามารถกำจัดได้ง่ายโดยใช้สารลดแรงตึงผิว
- ไขมันจากสัตว์ (Animal Fats) เช่น ไขมันหมู ไขมันวัว และไขมันไก่ มีแนวโน้มที่จะแข็งตัวเมื่อเย็นลง ทำให้เกิดการสะสมในท่อและอุปกรณ์ได้ง่ายขึ้น
- ไขมันที่ผ่านกระบวนการทอด (Used Cooking Oil and Grease) เช่น น้ำมันทอดที่ใช้ซ้ำหลายครั้ง จะมีสารประกอบที่เกิดจากการออกซิเดชัน ทำให้เหนียวข้นและกำจัดได้ยากกว่าไขมันชนิดอื่น
เมื่อไขมันเหล่านี้สัมผัสกับน้ำและอุณหภูมิที่เปลี่ยนแปลง จะเกิดกระบวนการทางเคมี เช่น การเกิดอิมัลชัน หรือการเกิดฟองไขมันในระบบบำบัดน้ำเสีย ซึ่งเป็นสาเหตุหลักของการอุดตันและการปนเปื้อนในระบบท่อระบายน้ำ
การสะสมของไขมันและผลกระทบ
การสะสมของไขมันเกิดขึ้นจากกลไกหลักสองประการ ได้แก่
- การรวมตัวของไตรกลีเซอไรด์: เมื่อไขมันอิ่มตัวสัมผัสกับอุณหภูมิที่ลดลง จะเกิดการแข็งตัวและเกาะติดกับพื้นผิวของท่อหรืออุปกรณ์การผลิต
- การเกิดสบู่โลหะ (Saponification): ไขมันทำปฏิกิริยากับไอออนของแคลเซียมหรือแมกนีเซียมในน้ำ ก่อให้เกิดสารที่มีความเหนียวและแข็งตัวสูง ทำให้ยากต่อการทำความสะอาด
การใช้สารเคมีในการกำจัดคราบไขมันและผลกระทบ
กลุ่มสารเคมีที่ใช้กำจัดไขมัน เช่น สารลดแรงตึงผิว (Surfactants) เช่น โซเดียมลอริลซัลเฟต (SLS) ซึ่งช่วยแตกตัวไขมันให้อยู่ในรูปอิมัลชัน ละลายน้ำได้ง่ายขึ้น อีกตัวหนึ่งคือ สารอัลคาไลน์ (Alkaline Agents) เช่น โซเดียมไฮดรอกไซด์ (NaOH) หรือโพแทสเซียมไฮดรอกไซด์ (KOH) ซึ่งสามารถทำให้ไขมันแตกตัวและกลายเป็นสบู่ (Saponification) และสารเคมีอีกตัวหนึ่งนั่นคือ สารทำละลายอินทรีย์ (Organic Solvents) เช่น อะซิโตนและไอโซโพรพานอล ใช้ในการทำละลายไขมันที่มีความหนืดสูง
ผลดีของการใช้สารเคมีในการกำจัดไขมัน
แน่นอนว่าการทำงานเคมีย่อมช่วยสลายคราบไขมันอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพสูง ลดการอุดตันในระบบท่อระบายน้ำและอุปกรณ์ผลิต และปรับสภาพพื้นผิวให้สะอาดและปลอดเชื้อ แต่อย่างไรก็ตาม ผลเสียจากการใช้สารเคมี ย่อมสร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม: สารเคมีบางชนิดอาจเป็นพิษต่อระบบนิเวศ โดยเฉพาะสารลดแรงตึงผิวที่ไม่สามารถย่อยสลายได้ตามธรรมชาติ นอกจากนั้น ถ้าเอาเกณฑ์ความเป็นอันตรายต่อมนุษย์: สารอัลคาไลน์เข้มข้นอาจทำให้เกิดการระคายเคืองผิวหนังและระบบทางเดินหายใจ นอกจากนั้นยังพบ ปัญหาการกัดกร่อน: สารเคมีที่มีฤทธิ์เป็นกรดหรือด่างสูง อาจทำให้พื้นผิวโลหะหรืออุปกรณ์สึกกร่อนได้
แนวทางที่ปลอดภัยและยั่งยืนในการกำจัดไขมัน การใช้ผลิตภัณฑ์นวัตกรรม Bio Organic tech ของ KEEEN ในการกำจัดไขมันอย่างมีประสิทธิภาพ
ผลิตภัณฑ์ของ KEEEN ถูกพัฒนาขึ้นโดยใช้เทคโนโลยีจุลินทรีย์และเอนไซม์ที่สามารถย่อยสลายไขมันได้โดยไม่ทิ้งสารเคมีตกค้าง ไม่ก่อให้เกิดการกัดกร่อน และเป็นมิตรต่อระบบบำบัดน้ำเสีย เช่น
- Surface Cleaner F.O.G Digester : สูตรเฉพาะของจุลินทรีย์นวัตกรรมคัดแยกสายพันธ์ร่วมกับ สวทช. ประสิทธิภาพสูงสามารถช่วยย่อยสลายไขมันในระบบบำบัดน้ำเสียและบ่อดักไขมัน


