ทำไมการใส่ถุงมือในโรงงานผลิตอาหารจึงสำคัญในการป้องกันเชื้อโรคที่มือ

ทำไมการใส่ถุงมือในโรงงานผลิตอาหารจึงสำคัญในการป้องกันเชื้อโรคที่มือ
16 พฤษภาคม 2025 admin_KE

โพสต์ลง 16 พฤษภาคม 2568 โดย คีนน์


ทำไมการใส่ถุงมือในโรงงานผลิตอาหารจึงสำคัญในการป้องกันเชื้อโรคที่มือ

เมื่อพูดถึงมาตรฐานความปลอดภัยในอุตสาหกรรมอาหาร หนึ่งในคำถามที่ถูกหยิบยกขึ้นมาบ่อยที่สุดคือ “ถุงมือจำเป็นแค่ไหนในกระบวนการผลิตและประกอบอาหาร ? ” หลายคนอาจคิดว่าการสวมถุงมือเป็นมาตรการที่ช่วยป้องกันการปนเปื้อนได้ดีที่สุด แต่แท้จริงแล้ว การใช้ถุงมืออาจไม่ได้ช่วยเสมอไปหากใช้ไม่ถูกต้อง การสวมถุงมือมีข้อดีในแง่ของการลดการสัมผัสโดยตรงระหว่างมือของผู้ปฏิบัติงานกับอาหาร อย่างไรก็ตาม หากไม่ได้ใช้อย่างถูกวิธี ถุงมืออาจกลายเป็นแหล่งสะสมเชื้อโรค และเพิ่มความเสี่ยงในการปนเปื้อนข้าม (Cross-Contamination) มากกว่าการใช้มือเปล่าที่ล้างสะอาดแล้วด


แหล่งกำเนิดและประเภทของน้ำเสียในอาคารสูง

สามารถแบ่งได้เป็น 3 ประเภทหลัก ได้แก่

น้ำเสียจากการใช้งานทั่วไป (Domestic Wastewater) โดยมีแหล่งที่มา เช่น ห้องน้ำ, อ่างล้างหน้า, ห้องครัว น้ำเสียเหล่านี้มีค่าความสกปรกสูง (BOD/COD สูง) มีสารอินทรีย์ ไขมัน และจุลินทรีย์

น้ำเสียจากระบบทำความเย็น (Cooling Tower Blowdown) จากแหล่งที่มาของระบบปรับอากาศและเครื่องทำความเย็น แน่นอนว่าน้ำเสียเหล่านี้มีสารเคมีตกค้าง เช่น คลอรีน ฟอสเฟต และสารกันตะกรัน

น้ำเสียจากระบบล้างอุปกรณ์และพื้นผิว (Cleaning Wastewater) จากกิจกรรมทำความสะอาด เช่น การล้างพื้น การซักผ้า การทำความสะอาดเครื่องมือ น้ำเสียกลุ่มนี้มีสารเคมีจากกลุ่มน้ำยาทำความสะอาด น้ำมัน และสารแขวนลอย

ข้อดีของการใช้ถุงมือในโรงงานผลิตอาหาร

✅ ลดการสัมผัสโดยตรง กับวัตถุดิบและอาหารสำเร็จรูป
✅ ช่วยป้องกันการปนเปื้อนจากมือของผู้ปฏิบัติงาน ที่อาจมีแบคทีเรีย ไวรัส หรือสิ่งสกปรก
✅ ลดโอกาสเกิดการปนเปื้อนข้าม เช่น จากเนื้อสัตว์ดิบไปสู่อาหารพร้อมบริโภค
✅ เป็นไปตามมาตรฐานด้านสุขอนามัย เช่น GMP (Good Manufacturing Practices) และ HACCP (Hazard Analysis and Critical Control Points)

ข้อเสียของการใช้ถุงมือผิดวิธีในโรงงานผลิตอาหาร

❌ ใช้ถุงมือซ้ำโดยไม่เปลี่ยน แม้ว่าจะสัมผัสสิ่งสกปรก
❌ ใส่ถุงมือแล้วสัมผัสสิ่งอื่น ๆ เช่น เงิน โทรศัพท์ หรืออุปกรณ์อื่นที่อาจมีเชื้อโรค
❌ เข้าใจผิดว่าการสวมถุงมือ = ไม่ต้องล้างมือ
❌ ใช้ถุงมือชนิดไม่เหมาะสม เช่น ถุงมือมีแป้งที่อาจปนเปื้อนในอาหาร

แนวทางการใช้ถุงมือที่ถูกต้องในโรงงานผลิตอาหาร

✔️ ล้างมือให้สะอาดก่อนสวมถุงมือ ทุกครั้ง
✔️ เปลี่ยนถุงมือทันที เมื่อสัมผัสสิ่งปนเปื้อน หรือเปลี่ยนงาน
✔️ เลือกใช้ถุงมือให้เหมาะกับประเภทงาน เช่น ถุงมือไนไตรล์ (Nitrile) สำหรับสัมผัสอาหารโดยตรง หรือ ถุงมือพีวีซี (PVC) สำหรับงานทั่วไป
✔️ หลีกเลี่ยงการสัมผัสอวัยวะอื่นหรือสิ่งของ เช่น เสื้อผ้า ใบหน้า หรือโทรศัพท์ ขณะสวมถุงมือ

แม้ว่าถุงมือจะช่วยลดความเสี่ยงในการปนเปื้อนได้ แต่หลายหน่วยงาน เช่น WHO และ FDA ก็ระบุว่า “การล้างมืออย่างถูกต้องและสม่ำเสมอ อาจมีประสิทธิภาพเทียบเท่ากับการใช้ถุงมือ” มือของเราสัมผัสสิ่งของมากมายตลอดทั้งวัน และเป็นพาหะนำเชื้อโรคต่างๆ เข้าสู่ร่างกายได้ง่าย โดยเฉพาะในสถานประกอบการด้านอาหาร เช่น ร้านอาหาร โรงแรม หรือโรงงานอาหาร การรักษาความสะอาดของมือ จึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งในการป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโรคและการเกิดโรคอาหารเป็นพิษ

เชื้อโรคที่ปนเปื้อนในมือ ก่อให้เกิดอะไรบ้าง?

เชื้อโรคที่ปนเปื้อนในมือสามารถก่อให้เกิดโรคได้หลากหลายชนิด เช่น โรคท้องเสีย อาหารเป็นพิษ โรคติดเชื้อทางเดินหายใจ และโรคผิวหนัง การสัมผัสอาหารด้วยมือที่ไม่สะอาดจะทำให้เชื้อโรคปนเปื้อนเข้าไปในอาหาร และเมื่อรับประทานเข้าไปก็จะทำให้เกิดอาการป่วยได้ นอกจากนี้ การสัมผัสใบหน้า ตา ปาก หรือจมูกด้วยมือที่ไม่สะอาด ก็เป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้เกิดการติดเชื้อได้เช่นกัน

เชื้อโรคที่มักปนเปื้อนผ่านการสัมผัสด้วยมือ

Salmonella : มักพบในเนื้อสัตว์ดิบ เช่น ไก่ และไข่ดิบ เชื้อโรคนี้สามารถทำให้เกิดอาการท้องเสีย ปวดท้อง และมีไข้

Escherichia coli (E. coli) : ปนเปื้อนในเนื้อสัตว์และผักสด เชื้อชนิดนี้สามารถทำให้เกิดอาการท้องเสียอย่างรุนแรง รวมถึงภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ

Norovirus : เชื้อไวรัสที่เป็นสาเหตุของอาการท้องเสียและอาเจียน มักแพร่กระจายผ่านมือที่สัมผัสอาหารหรือพื้นที่ปนเปื้อน

Staphylococcus aureus : สามารถแพร่กระจายได้จากมือไปยังอาหาร เชื้อโรคนี้สามารถปล่อยพิษเมื่ออาหารถูกเก็บไว้นานเกินไปหรือไม่ถูกต้อง

Listeria monocytogenes : เชื้อโรคนี้มักพบในผลิตภัณฑ์นมและอาหารแปรรูป และอาจทำให้เกิดโรคลิสเทอเรียซึ่งเป็นอันตรายต่อผู้ที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ

ข้อแนะนำในการป้องกันการปนเปื้อนในโรงงานผลิตอาหาร

ใช้ถุงมือ : เมื่อจัดการกับอาหารที่ไม่สุก หรืออาหารที่อาจมีการปนเปื้อน

ทำความสะอาดพื้นผิว : เช็ดล้างโต๊ะ เครื่องมือ และอุปกรณ์ที่ใช้ในการเตรียมอาหารอย่างสม่ำเสมอ

ควบคุมอุณหภูมิอาหาร : เก็บอาหารในอุณหภูมิที่เหมาะสมเพื่อป้องกันการเจริญเติบโตของเชื้อโรค

การปฏิบัติตามมาตรการป้องกันเหล่านี้จะช่วยลดความเสี่ยงในการปนเปื้อนเชื้อโรคในธุรกิจบริการอาหารได้อย่างมีประสิทธิภาพ การเลือกผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสมต่อการสัมผัสกับผิวหนังโดยตรง จำเป็นต้องสังเกตุด้านการระคายเคือง ผลิตจากสารประกอบที่มาจากธรรมชาติ ไม่มีน้ำหอมเคมีเจือจางที่เน้นกลิ่นหอมมากจนเกินไป และต้องมาจากผู้ผลิตที่มีคุณภาพ โรงงานมีมาตรฐานในหมวดใบอนุญติผลิตเครื่องสำอางค์อย่างถูกต้อง เพื่อให้มั่นใจคุณภาพ ประสิทธิภาพสูง ปลอดภัยกว่านั่นเอง