โพสต์ลง 25 กรกฎาคม 2568 โดย คีนน์

เข้าใจให้ชัด Food Grade – Food Contact Grade – Bio-Based ต่างกันอย่างไร?
ในยุคที่มาตรฐานด้านความปลอดภัยอาหาร (Food Safety) และสิ่งแวดล้อม (Environmental Responsibility) ได้กลายเป็นปัจจัยหลักของความเชื่อมั่นในธุรกิจ ผู้ประกอบการจำเป็นต้องเข้าใจความหมายและการใช้งานของสารเคมีและวัสดุต่าง ๆ อย่างถูกต้อง โดยเฉพาะคำที่ถูกใช้บ่อยในอุตสาหกรรมอาหารและสุขอนามัย เช่น “Food Grade“, “Food Contact Grade” และ “Bio-Based Cleaner”
แม้คำเหล่านี้จะดูคล้ายกันและเกี่ยวข้องกับ “ความปลอดภัย” แต่ในเชิงเทคนิคและการใช้งานจริง แต่ละคำมีขอบเขตและข้อกำหนดแตกต่างกันชัดเจน บทความนี้จะช่วยให้คุณเข้าใจความแตกต่างเหล่านั้น พร้อมแนะนำแนวทางเลือกใช้ให้เหมาะกับแต่ละประเภทธุรกิจ
ความหมายและการใช้งานของ Food Grade, Food Contact Grade และ Bio-Based
🔹 1. Food Grade (เกรดอาหาร) คือ สารเคมีที่ได้รับการรับรองว่าสามารถบริโภคได้ หรือหากเกิดการปนเปื้อนในอาหารในปริมาณเล็กน้อย จะไม่ส่งผลต่อสุขภาพมนุษย์
ข้อกำหนดสำคัญ: ต้องปลอดจากโลหะหนัก สารตกค้าง หรือสารพิษ ผ่านมาตรฐาน เช่น FDA (สหรัฐอเมริกา), EFSA (ยุโรป), อย. (ประเทศไทย)
การใช้งาน: วัตถุดิบที่ใช้ในอาหาร เช่น สีผสมอาหาร สารให้ความหวาน สารกันเสีย ถ้าเป็นน้ำยาทำความสะอาดในพื้นที่แปรรูปอาหาร ที่อาจสัมผัสกับอาหารโดยตรงในขั้นตอนสุดท้าย รวมถึงวัสดุบรรจุภัณฑ์แบบบริโภคได้ เช่น ฟิล์มเคลือบผัก ผลไม้
ธุรกิจที่ใช้: โรงงานผลิตอาหารและเครื่องดื่ม ผู้ผลิตเครื่องปรุง เครื่องดื่ม และผลิตภัณฑ์แปรรูป หรือธุรกิจที่ต้องผ่านการตรวจ GMP, HACCP, หรือ ISO 22000
🔹 2. Food Contact Grade (เกรดสัมผัสอาหาร) หมายถึง สารเคมีที่สามารถ “สัมผัสอาหารได้โดยตรง” โดยไม่ปล่อยสารเคมีหรือสิ่งเจือปนออกมาที่จะก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้บริโภค
ข้อกำหนดสำคัญ: ไม่ต้องสามารถบริโภคได้ แต่ต้องไม่มีการชะล้างสารออกมา (Migration) เกินค่ามาตรฐาน หรือต้องสามารถล้างออกหมดได้หากเป็นสารเคมี
การใช้งาน: เครื่องมือ เครื่องจักร ภาชนะ หรือสายพานลำเลียงในไลน์ผลิต ถุงมือ หมวก หรือวัสดุที่ใช้ขณะประกอบอาหาร กรณีน้ำยาทำความสะอาดอุปกรณ์ เช่น ถัง เครื่องหั่น ถาด ที่ใช้กับอาหาร
ตัวอย่างธุรกิจที่ใช้: โรงงานแปรรูปเนื้อสัตว์ ผลิตภัณฑ์นม อาหารพร้อมทาน โรงงาน OEM อาหาร หรือธุรกิจที่มีอุปกรณ์หรือเครื่องจักรสัมผัสอาหารโดยตรง
🔹 3. Bio-Based Cleaner (น้ำยาทำความสะอาดจากธรรมชาติ) ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดที่ใช้วัตถุดิบจากธรรมชาติ เช่น สารสกัดจากพืช กรดอินทรีย์ หรือเอ็นไซม์ ที่สามารถย่อยสลายได้ในธรรมชาติ (biodegradable)
จุดเด่น: ปลอดภัยต่อผู้ใช้งาน ลดการระคายเคืองผิวหนังหรือระบบทางเดินหายใจ ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม โดยไม่ทิ้งสารพิษตกค้างในน้ำเสีย และไม่จำเป็นต้องเป็น food contact grade เสมอไป ขึ้นอยู่กับสูตรของแต่ละผลิตภัณฑ์
-
BLOG2025-15-Food-Grade-vs-Contact-Grade-02
-
BLOG2025-15-Food-Grade-vs-Contact-Grade-03
-
BLOG2025-15-Food-Grade-vs-Contact-Grade-04
การใช้งาน: พื้นที่รอบนอกการผลิต เช่น พื้น ผนัง ห้องเก็บของ ห้องน้ำ ห้องเก็บขยะ บริเวณรอบโรงงาน หรือใช้ในระบบบำบัดน้ำเสีย (กรณีเป็นผลิตภัณฑ์จุลินทรีย์) รวมไปถึงใช้ในธุรกิจที่ต้องการลดการใช้สารเคมีรุนแรง เช่น คลอรีนหรือโซดาไฟ
ตัวอย่างธุรกิจที่ใช้: โรงงานอาหารที่ต้องการแนวทาง Green Factory หรือร้านอาหาร โรงแรม ที่เน้นความปลอดภัยต่อพนักงานและผู้บริโภค และโรงงานอุตสาหกรรมทั่วไปที่ต้องการนโยบายลด Carbon Footprint
บทสรุปและคำแนะนำสำหรับผู้ประกอบการ
การเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ให้เหมาะสมในสายการผลิตไม่ใช่เพียงเพื่อความสะอาด แต่ยังเป็นการ ป้องกันความเสี่ยงด้านกฎหมาย สุขภาพ และภาพลักษณ์แบรนด์ ด้วย หากคุณอยู่ในธุรกิจอาหารหรือบริการที่เกี่ยวข้องกับการบริโภค ควรพิจารณาว่า
✅ บริเวณ หรือพื้นที่ใดควรใช้ Food Grade (เช่นส่วนที่สัมผัสปาก หรือวัตถุดิบโดยตรง) ?
✅ อุปกรณ์ เครื่องจักร ต้องผ่านการรับรอง Food Contact หรือไม่ ?
✅ พื้นที่ใดใช้ Bio-Based Cleaner ได้ เพื่อช่วยลดต้นทุนและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ?
การใช้ผลิตภัณฑ์ผิดประเภท ไม่เพียงแต่เพิ่มความเสี่ยงต่อผู้บริโภค แต่ยังทำให้ไม่ผ่านการตรวจสอบจากหน่วยงานรับรองมาตรฐานต่าง ๆ เช่น GMP, HACCP หรือ ISO ซึ่งอาจนำไปสู่การเรียกคืนสินค้า และความเสียหายต่อธุรกิจในระยะยาว
หากต้องการคำแนะนำเฉพาะสำหรับธุรกิจ เช่น ประเภทผลิตภัณฑ์ KEEEN ตัวใดที่เหมาะสมเหมาะกับพื้นผิว หรือ อุปกรณ์ ใช้งานไม่ว่าจะเป็น งานผลิตทั่วไป งานด้านบริการ ร้านอาหาร รวมไปถึงเพื่อการผลิตอาหารแปรรูป ให้ได้ทั้งการแก้ปัญหาความสะอาด และรักษาสิ่งแวดล้อม และมีมาตรฐานที่ครบทุกด้าน สามารถติดต่อปรึกษาผู้เชี่ยวชาญทีม KEEEN ผ่านช่องทางต่างของบริษัทฯ เพื่อขอรับคำปรึกษาได้โดยไม่มีค่าใช้จ่าย




